ศอ.บต. ร่วมกับ สสว. ดึงผู้ประกอบการในพื้นที่ กว่า 100 คน พัฒนาทักษะการค้าดิจิทัล พร้อมยกระดับสินค้าพื้นถิ่นสู่สินค้าระดับพรีเมี่ยม

ศอ.บต. ร่วมกับ สสว. ดึงผู้ประกอบการในพื้นที่ กว่า 100 คน พัฒนาทักษะการค้าดิจิทัล พร้อมยกระดับสินค้าพื้นถิ่นสู่สินค้าระดับพรีเมี่ยม

ศอ.บต. ร่วมกับ สสว. ดึงผู้ประกอบการในพื้นที่ กว่า 100 คน พัฒนาทักษะการค้าดิจิทัล พร้อมยกระดับสินค้าพื้นถิ่นสู่สินค้าระดับพรีเมี่ยม

ที่ โรงแรมริเวอร์ ลีฟวิ่งเพลซ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมขับเคลื่อนสวนอุตสาหกรรมนวัตกรรมและเทคโนโลยี สินค้าฮาลาล (e-Industrial Park : Halal Foods & Product Innovation) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมี ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. ต่อจากผู้ช่วย เพิ่มผู้จัดการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร 3 จชต. พร้อมด้วยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม (SME) กลุ่ม OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส เข้าร่วมกว่า 100 คน
พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เปิดเผยว่า กิจกรรมในวันนี้เป็นหนึ่งกิจกรรมที่ต้องการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ อาทิ ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME ให้มีช่องทาง มีโอกาสที่ดี โดยทางศอ.บต.ได้มีการจัดตั้งสวนอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อยู่ที่ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชั้น 4 เนื่องจากสวนอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นั้นสามารถครอบคลุมทั้งหมดในภาคเศรษฐกิจ สนับสนุนผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME ให้มีการผลิต การแปรรูปสินค้า โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด มีเครื่องไม้เครื่องมือจากส่วนราชการ หรือวิสาหกิจมาสนับสนุนเพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาด และนำเสนอรูปแบบของสินค้าให้เป็นที่รู้จักทั่วโลกได้ ดังนั้นเป้าหมายหลักของศอ.บต. คือเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากหรือวิสาหกิจชุมชนทั้งกลุ่มการผลิตลูกหยี กล้วยเส้น การผลิตเครื่องแกง น้ำบูดู น้ำปลาร้าปรุงรส ซึ่งเป็นหนทางที่จำเป็นและสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นชาวบ้านในพื้นที่มีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตสินค้า หากในพื้นที่เกิดการพัฒนา เกิดการผลิตที่มีคุณภาพ มีการกระจายรายได้ที่เหมาะสม จะทำให้มีโอกาส มีอาชีพ มีรายได้ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นั่นคือเป้าหมายหลักที่จะลดความเหลื่อมล่ำที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ดีที่สุดต่อไป
นางสาวปาลิตา ลิมป์ไตรรัตน์ ผู้ประกอบการน้ำบูดู – น้ำปลาร้าปรุงรส เผยถึงจุดเริ่มต้นในการผลิตสินค้าว่า เดิมทางครอบครัวได้เปิดร้านขายส้มตำมาก่อน ก็เลยมีความคิดที่จะสร้างแบรนเป็นของตัวเอง โดยคิดสูตรน้ำปลาร้า และน้ำบูดูของตัวเอง เพื่อจำหน่าย เริ่มขายแบบง่ายๆ ก่อน มาทำแบรนด์สินค้าของครอบครัว โดยทุกสินค้าทั้งหมดจะผ่านการต้มสุก ตามหลักอนามัย สามารถเก็บได้ถึง 2 ปี เนื่องจากไม่มีสารกันบูด ถูกหลักอนามัย โดยมีจุดเด่นสินค้าคือ หมักเอง ทำเอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค โดยมีการรับซื้อวัตถุดิบ เช่น ปลา มาจากชาวประมงในพื้นที่ กว่า 50 เปอร์เซน และอีก 50 เปอร์เซน มาจากนอกพื้นที่ เพราะมีปริมาณไม่เพียงพอ ส่วนการจ้างงาน ก็มองว่าอนาคตจะมีการจ้างงานให้กับในพื้นที่มากขึ้น ถ้าธุรกิจไปได้ดี สำหรับในวันนี้ต้องขอบคุณ ศอ.บต. ที่ได้จัดกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดี ที่จะทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มช่องทางการตลาด ให้สินค้าเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ศอ.บต. ได้มีการจัดตั้งสำนักงานสวนอุตสาหกรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Industrial Park) ภายใต้ชื่อ “สวนอุตสาหกรรมนวัตกรรมและเทคโนโลยี สินค้าฮาลาล” เพื่อเป็นศูนย์กลาง การแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี ศูนย์ฝึกอบรมผู้ประกอบการ สถาบันการศึกษาในพื้นที่จชต. พัฒนาอุตสาหกรรม ในจชต. ให้เป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ และมีจุดแข็งด้านการตลาด นำการผลิตผ่าน E-Platform ซึ่งสามารถพยากรณ์ข้อมูลความต้องการของผู้บริโภค ได้แม่นยำประมาณร้อยละ 80 (Predictive data) มีการนำจุดเด่นเรื่องความสามารถ ในการผลิตร่วมกับความต้องการจากผู้บริโภคเชื่อมโยงกัน เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างเป็นระบบ โดยจะเป็นต้นแบบในการทำ E-Park พื้นที่อื่นๆ ทั้งนี้กองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน จึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ได้ทราบถึงภารกิจของสวนอุตสาหกรรมนวัตกรรม และเทคโนโลยี สินค้าฮาลาล (e-Industrial Park : Halal Foods & Product Innovation) และพัฒนาทักษะการค้าดิจิทัล เป็นการยกระดับสินค้าพื้นถิ่น โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการค้าในยุคดิจิทัลทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยกิจกรรมขับเคลื่อนสวนอุตสาหกรรมนวัตกรรมและเทคโนโลยี สินค้าฮาลาล (e-Industrial Park : Halal Foods & Product Innovation) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 2 ตุลาคม 2563 ซึ่งภายในกิจกรรมครั้งนี้มีการให้ความรู้ถึงแนวทางของ SME ในการปรับเปลี่ยนเพื่อความยั่งยืน การพัฒนาสินค้าพื้นถิ่นเพื่อเข้าสู่สวนอุตสาหกรรม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “Digital Trade Platform” ต่อไป

คุณ ปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ ผอ.ภ.9 นิตยสารตำรวจเพื่อมวลชน รายงาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า