ที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอ 6 ข้อ ให้ ศอ.บต.เร่งแก้ไขปัญหา หลังสถาบันปอเนาะฯถูกศาลพิพากษาจำคุก 2 เดือน ฯ

ที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอ 6 ข้อ ให้ ศอ.บต.เร่งแก้ไขปัญหา หลังสถาบันปอเนาะฯถูกศาลพิพากษาจำคุก 2 เดือน ฯ

ที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอ 6 ข้อ ให้ ศอ.บต.เร่งแก้ไขปัญหา หลังสถาบันปอเนาะฯถูกศาลพิพากษาจำคุก 2 เดือน ฯ

ที่ ห้องประชุมชั้น 3 ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) ได้มีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะศาสนา การศึกษาฯ และคณะสื่อสารการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อพิจารณาเรื่อง สถาบันปอเนาะซือมา ซึ่งถูกศาลพิพากษาจำคุก 2 เดือน ปรับเป็นเงิน 8,000 บาท โทษจำให้รออาญา 2 ปี ในข้อหาเปิดการเรียนการสอนโดยไม่มีใบอนุญาต
หลังจากที่ศาลได้พิพากษา ได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมมุสลิมอย่างกว้างขวาง รวมทั้งจากองค์กรสิทธิมนุษย์ชน เพราะเป็นคดีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และประกอบกับยังมีสถาบันปอเนาะที่มีปัญหาเรื่องที่ตั้งโดยไม่ถูกต้อง เช่นไม่มีเอกสารสิทธ์ในที่ดิน บางแห่งตั้งอยู่ในที่ดินที่ไม่สามารถออกเอกสารสิทธ์ได้ จึงกลายเป็นปอเนาะที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายขอใบอนุญาตไม่ได้ รวมทั้งระเบียบของการขอใบอนุญาตเปิดโรงเรียนปอเนาะ เจ้าของจะต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่โดยข้อเท็จจริง ในพื้นที่ตั้งของสถาบันปอเนาะ และครอบครัวของเจ้าของโรงเรียน ไม่มีผู้ใดมีการศึกษาถึงขั้นปริญญาตรี ทำให้สถาบันปอเนาะใน 3 จังหวัด และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา มีสถาบันปอเนาะที่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้องนับร้อยแห่ง
คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี เป็นประธาน เห็นว่ากรณีสถาบันปอเนาะซือมา อาจจะเกิดกับสถาบันปอเนาะอื่นๆ ที่ยังไม่มีใบอนุญาต เพราะมีปัญหาอุปสรรคในเรื่องที่ดินที่ตั้งโรงเรียน และเรื่องวุฒิการศึกษา จึงได้เรียกประชุม คณะทำงานทั้ง 2 คณะพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อเสนอให้เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหาทางออกให้สถาบันปอเนาะ และรวมถึงการเรียนการสอนศาสนาในวัด และในศูนย์ตาดีกา ที่มีระเบียบข้อบังคับเช่นเดียวกัน โดยคณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางก่อนที่จะมีมติดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยให้ดำเนินการหลักกฎหมายให้ถูกต้อง
2. การแก้ไขปัญหาสถานที่ตั้ง (ที่สาธารณะ, ที่ซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิ์) โดยหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. คุณสมบัติการสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี (เพิ่มเติม) หรือจบวุฒิทางศาสนา กรณีศาสนาอิสลามต้องมีวุฒิการศึกษาชั้น 10 ,กรณีศาสนาพุทธต้องจบนักธรรมเอก และกรณีศาสนาอื่นๆ ให้มีเอกสารแสดงวุฒิทางศาสนานั้น
4. กรณีสถาบันศึกษาปอเนาะ/ศูนย์การศึกษาประจำมัสยิด (ตาดีกา)/วัด ที่ยังมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ หรือเอกสารอื่นๆ ขอให้ ศอ.บต. ประสานงาน สำนักงานการศึกษาเอกชน ฝ่ายความมั่นคง และ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ในกรณีที่เกิดเหตุลักษณะเดียวกันกับสถาบันศึกษาปอเนาะชือมา ให้ใช้หลักรัฐศาสตร์นำหลักนิติศาสตร์ โดยเรียกคุยให้คำแนะนำผู้ที่มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ/เอกสารอื่นๆ ก่อนดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย
5. ขอให้ ศอ.บต. เชิญสถาบันศึกษาปอเนาะ/ศูนย์การศึกษาประจำมัสยิด (ตาดีกา)/วัด ที่ยังมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ หรือเอกสารอื่นๆ มาประชุมหารือร่วมกันเพื่อรวบรวมข้อมูลและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
6. ขอให้ ศอ.บต. เชิญหน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้องมาประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทราบข้อเท็จจริงและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง
โดยคณะกรรมการที่ปรึกษา จะนำข้อคิดเห็นทั้ง 6 ข้อเสนอต่อเลขาธิการ ศอ.บต.ให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคที่ทำให้สถาบันปอเนาะ สถานศึกษาของวัด และตาดีกา ไม่สามารถขอใบอนุญาตให้ถูกต้องตามกฏระเบียบที่กำหนดได้

คุณ ปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ ผอ.ภ.9 นิตยสารตำรวจเพื่อมวลชน รายงาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า